พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
หลวงปู่เขียว วั...
หลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง
หากเอ่ยถึงผ้าไหมมัดหมี่อันโด่งดัง ต้องนึกถึงอำเภอชนบท หากเอ่ยถึงเกจิดังในอำเภอชนบท ต้องนึกถึงหลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง…. วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง อ.ชนบท เป็นวัดเก่าแก่ ถือเป็นเมืองเก่าของจังหวัดขอนแก่น ถ้าอ่านตามประวัติ เจ้าเมืองขอนแก่นส่งส่วยให้เมืองชนบท และชนบทส่งต่อให้โคราชอีกที….ชนบทเป็นเมืองเก่าที่มีโบราณวัตถุเก่าแก่ ตลอดจนเหรียญยอดนิยมอันดับหนึ่งแห่งเมืองขอนแก่น ก็จัดสร้างที่อำเภอชนบทแห่งนี้ และเป็นแหล่งสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นครับที่ได้รับความนิยมจวบจนถึงปัจจุบัน….วันเวลาล่วงเลยผ่านไป ถนนมิตรภาพตัดผ่าน อ.บ้านไผ่ ทางรถไฟต่าง ๆ เมืองชนบทเลยเป็นเมืองตกอับตามเส้นทางคมนาคม ตามยุคสมัย....
..... เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ.... หลายท่านสงสัยว่าหลวงปู่เขียวพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นใคร ? ...
..... ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์และอาจารย์ของพระเกจิอาจารย์หลายรูปและอยู่เบื้องหลังของพระเกจิจารเก่ง ๆหลายท่านครับ อาทิ เช่น หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ แห่งวัดป่าคุ้มจัดสรร อ.บ้านไผ่ , พระครูโอภาสสมณกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมวิเวก อ.ชนบท (ผู้ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อผาง คงเค คอติ่ง รุ่นแรก อันโด่งดัง) , หลวงปู่ชม ปภัสโร อ.โนนศิลา , หลวงปู่บุญมา วัดป่าภูหันบรรพต , หลวงปู่แสวง วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย วัดบ้านขุมดิน , พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงพ่อนงค์ )เจ้าอาวาสวัดอุดมคงคาคีรีเขต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน, พระอธิการวีระสังจิตโต (หลวงตาหลี) วัดป่าหนองไผ่เทพนิมิต บ้านท่าสวรรค์ ฯลฯ ....ที่กล่าวมาล้วนแต่อุปัชฌาย์กับหลวงปู่เขียวทั้งสิ้น …
….สำหรับ หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต(ดูน) สมัยก่อนหลวงพ่อผางท่านธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านแท่นบรรลังทิพย์ เดินทางผ่านในตัว อ.ชนบท เข้ามากราบหลวงปู่เขียวบ่อยครั้ง จนชาวชนบทหลายท่านเข้าใจผิดว่าหลวงปู่เขียวก็เป็นพระองค์อุปัชฌาย์ให้กับหลวงปู่ผางด้วย….อันที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ (ข้อมูลนี้ผมสอบถามจาก”ลุงเปี๊ยก” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม ซึ่งท่านเป็นศิษย์ผู้รับใช้หลวงปู่มาตั้งแต่เด็กจนโตและอีกท่าน”อาจารย์ ถวิล ” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม บ้านอยู่ติดวัดท่านเกิดและโตที่นี่และสมัยนั้นท่านก็โดนหลวงปู่เขียวอบรมสั่งสอนอยู่เป็นประจำ ปัจจุบันทั้งสองท่านยังมีชีวิตอยู่ครับ)….หลวงปู่ผางนับถือหลวงปู่เขียวด้วยเป็นพระในปกครองและอายุพรรษาที่คงการนาน(คงแก่เรียน)และถือเป็นครูบาอาจารย์ เดินทางไปมาหาสู่บ่อยครั้งและหลวงปู่เขียวก็เอ็นดูหลวงปู่ผางเป็นพิเศษ….มีครั้งหนึ่งคณะจาก อ.ชนบทได้ขับรถพาหลวงปู่เขียวไปเยี่ยมงานสงค์ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) พอไปถึงหลวงปู่ผางนั่งอยู่บนอาสนะและได้ลุกเดินลงอาสนะ จากนั้นหลวงปู่เขียวเดินเข้าไปนั่งอาสนะแทนที่ จากนั้นหลวงปู่ผางก้มกราบหลวงปู่เขียวด้วยความเคารพ….ทำให้ชาวบ้านที่มากราบหลวงปู่ผางตกใจ ว่าเกิดอะไรขึ้น คณะที่มาด้วยจึงได้อธิบายให้ทราบจึงได้ร้อง อ๋อ …เป็นแบบนี้นี่เอง….และยังมีหลวงปู่โส กัสสโป วัดป่าคีรีวัน , หลวงปู่วรพรตวิธาน ก็ล้วนต่างนับถือหลวงปู่เขียวไปมาหาสู่บ่อยครั้งเช่นกันครับ ….. ชาตะ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ท่านเป็นชาวชนบทโดยกำเนิด เป็นบุตรของหลวงประเทศ มารดาชื่อ นางบุญเลี้ยง ประจันตะประเทศธานี มีพี่น้องร่วมกัน 4 คน คือ
1.นายสมบูรณ์ ประจันตะประเทศธานี
2.นางกระกุล ศรีโยธา
3.นางบุญนาค ประจันตะประเทศธานี
4.พระมุนีวรญาณเถร มหานาโม
บรรพชาเป็นสามเณรโดยหลวงตาเพชรได้พาไปบรรพชาที่วัดกวิศราราม ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2458 (อายุ 19 ปี) (มหานิกาย) มีพระอาจารย์มีเป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นจึงได้ขอลาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำตะโก ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดถ้ำตะโก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2459 มีพระอาจารย์กิ่งสุวรรณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อุ่นเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ปานเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามว่า พระภิกษุเขียว มหันตปัญโญ หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษาที่วัดถ้ำตะโก 1 พรรษา พระอาจารย์กิ่งสุวรรณได้ชักชวนไปจำพรรษาที่วัดธรรมสังเวช จ.ลพบุรี 3 พรรษา จากนั้นได้ถือโอกาศลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกไปแสวงหาความรู้โดยเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง ขณะอยู่ในกรุงเทพฯได้พักอยู่กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และได้ญัตติเป็นธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดบรมนิวาส ซึ่งมีพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยธรพรหมมาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์ไม่มี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2461 เปลี่ยนนามฉายาว่า “มหานาโม“ หลังจากญัตติเป็นธรรมยุตแล้วได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริญัติธรรมอยู่ที่วัดบรมฯ 3 พรรษา จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง ปี พ.ศ. 2463 และได้ขอลาพระอุปัชฌาย์ไปอยู่กับท่านพระครูศรีจันทร์คุณที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ได้ศึกษาปริญัติธรรมและบาลี จนสอบได้นักธรรมชั้นโทในสนามหลวง และระหว่างที่อยู่เมืองหลวงนั้นหลวงปู่เขียวก็ได้สนทนาธรรมกับเกจิอาจารย์หลายรูป เช่น พระมหาวีรวงศ์ (ดิสโส อ้วน) , หลวงปู่แหวน สุจินโณ , หลวงปู่ตื้อ อาจลธัมโม ซึ่งเป็นสหธรรมมิก สมเด็จสังฆราช (จวน) และช่วงท่านยังหนุ่มแน่นท่านจะเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอ
.....สมณศักดิ์.....
- พระใบฎีกาเขียว มหานาโม 10 มีนาคม 2464
- พระวินัยธรเขียว มหานาโม เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2473
- พระครูธรรมประเวที เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2477
- พระมุนีวรานุวัตร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2501
- พระมุนีวรญาณเถร เมื่อวันที่ 5 ธันาคม 2515
24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 หลวงปู่ได้มรณภาพจากศิษย์ยานุศิษย์ไปอย่างอาลัย รวม 66 พรรษา อายุ 86 ปี 6 เดื
ผู้เข้าชม
841 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
new
ชื่อร้าน
นิวพระเครื่องบัวใหญ่
ร้านค้า
pranew.99wat.com
โทรศัพท์
0807994609
ไอดีไลน์
new0807994609
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน
เหรียญรุ่นแรก พระครูปทุมสรารัก
ผ้ายันต์พระอาจารย์นก ธิตธัมโม
พระปทุมญาณมุนี
เหรียญ รุ่นแรก พระครูปัญญาภินั
เหรียญเจ้าฟ้าชาย สถาปนาสมเด็จพ
หลวงปู่วรพรตวิธาน วัดจุมพล
เหรียญหลวงพ่อน้อย ศ-11
เหรียญในหลวงนั่งบัลลังค์ ฉลองค
หลวงพ่อกิตติศักดิ์ วัดป่าหนอง
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Muthita
เทพจิระ
เธียร
ภูมิ IR
stp253
someman
tumlawyer
จุก พยัคฆ์ดำ
chaithawat
พระดี46
jocho
Le29Amulet
AmuletMan
somphop
อี๋ ล็อคเกต
digitalplus
บารมีครูบาชัยวงศ์
น้อยชัยยันต์
น้ำตาลแดง
termboon
Pongpasin
chathanumaan
ep8600
ว.ศิลป์สยาม
Achi
ทองธนบุรี
Erawan
moshy2499
fuchoo18
Zomlazzali
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1400 คน
เพิ่มข้อมูล
หลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
หลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง
รายละเอียด
หากเอ่ยถึงผ้าไหมมัดหมี่อันโด่งดัง ต้องนึกถึงอำเภอชนบท หากเอ่ยถึงเกจิดังในอำเภอชนบท ต้องนึกถึงหลวงปู่เขียว วัดศรีบุญเรือง…. วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง อ.ชนบท เป็นวัดเก่าแก่ ถือเป็นเมืองเก่าของจังหวัดขอนแก่น ถ้าอ่านตามประวัติ เจ้าเมืองขอนแก่นส่งส่วยให้เมืองชนบท และชนบทส่งต่อให้โคราชอีกที….ชนบทเป็นเมืองเก่าที่มีโบราณวัตถุเก่าแก่ ตลอดจนเหรียญยอดนิยมอันดับหนึ่งแห่งเมืองขอนแก่น ก็จัดสร้างที่อำเภอชนบทแห่งนี้ และเป็นแหล่งสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นครับที่ได้รับความนิยมจวบจนถึงปัจจุบัน….วันเวลาล่วงเลยผ่านไป ถนนมิตรภาพตัดผ่าน อ.บ้านไผ่ ทางรถไฟต่าง ๆ เมืองชนบทเลยเป็นเมืองตกอับตามเส้นทางคมนาคม ตามยุคสมัย....
..... เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ.... หลายท่านสงสัยว่าหลวงปู่เขียวพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นใคร ? ...
..... ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์และอาจารย์ของพระเกจิอาจารย์หลายรูปและอยู่เบื้องหลังของพระเกจิจารเก่ง ๆหลายท่านครับ อาทิ เช่น หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ แห่งวัดป่าคุ้มจัดสรร อ.บ้านไผ่ , พระครูโอภาสสมณกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมวิเวก อ.ชนบท (ผู้ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อผาง คงเค คอติ่ง รุ่นแรก อันโด่งดัง) , หลวงปู่ชม ปภัสโร อ.โนนศิลา , หลวงปู่บุญมา วัดป่าภูหันบรรพต , หลวงปู่แสวง วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย วัดบ้านขุมดิน , พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงพ่อนงค์ )เจ้าอาวาสวัดอุดมคงคาคีรีเขต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน, พระอธิการวีระสังจิตโต (หลวงตาหลี) วัดป่าหนองไผ่เทพนิมิต บ้านท่าสวรรค์ ฯลฯ ....ที่กล่าวมาล้วนแต่อุปัชฌาย์กับหลวงปู่เขียวทั้งสิ้น …
….สำหรับ หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต(ดูน) สมัยก่อนหลวงพ่อผางท่านธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านแท่นบรรลังทิพย์ เดินทางผ่านในตัว อ.ชนบท เข้ามากราบหลวงปู่เขียวบ่อยครั้ง จนชาวชนบทหลายท่านเข้าใจผิดว่าหลวงปู่เขียวก็เป็นพระองค์อุปัชฌาย์ให้กับหลวงปู่ผางด้วย….อันที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ (ข้อมูลนี้ผมสอบถามจาก”ลุงเปี๊ยก” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม ซึ่งท่านเป็นศิษย์ผู้รับใช้หลวงปู่มาตั้งแต่เด็กจนโตและอีกท่าน”อาจารย์ ถวิล ” ขออนุญาตที่เอ่ยนาม บ้านอยู่ติดวัดท่านเกิดและโตที่นี่และสมัยนั้นท่านก็โดนหลวงปู่เขียวอบรมสั่งสอนอยู่เป็นประจำ ปัจจุบันทั้งสองท่านยังมีชีวิตอยู่ครับ)….หลวงปู่ผางนับถือหลวงปู่เขียวด้วยเป็นพระในปกครองและอายุพรรษาที่คงการนาน(คงแก่เรียน)และถือเป็นครูบาอาจารย์ เดินทางไปมาหาสู่บ่อยครั้งและหลวงปู่เขียวก็เอ็นดูหลวงปู่ผางเป็นพิเศษ….มีครั้งหนึ่งคณะจาก อ.ชนบทได้ขับรถพาหลวงปู่เขียวไปเยี่ยมงานสงค์ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) พอไปถึงหลวงปู่ผางนั่งอยู่บนอาสนะและได้ลุกเดินลงอาสนะ จากนั้นหลวงปู่เขียวเดินเข้าไปนั่งอาสนะแทนที่ จากนั้นหลวงปู่ผางก้มกราบหลวงปู่เขียวด้วยความเคารพ….ทำให้ชาวบ้านที่มากราบหลวงปู่ผางตกใจ ว่าเกิดอะไรขึ้น คณะที่มาด้วยจึงได้อธิบายให้ทราบจึงได้ร้อง อ๋อ …เป็นแบบนี้นี่เอง….และยังมีหลวงปู่โส กัสสโป วัดป่าคีรีวัน , หลวงปู่วรพรตวิธาน ก็ล้วนต่างนับถือหลวงปู่เขียวไปมาหาสู่บ่อยครั้งเช่นกันครับ ….. ชาตะ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ท่านเป็นชาวชนบทโดยกำเนิด เป็นบุตรของหลวงประเทศ มารดาชื่อ นางบุญเลี้ยง ประจันตะประเทศธานี มีพี่น้องร่วมกัน 4 คน คือ
1.นายสมบูรณ์ ประจันตะประเทศธานี
2.นางกระกุล ศรีโยธา
3.นางบุญนาค ประจันตะประเทศธานี
4.พระมุนีวรญาณเถร มหานาโม
บรรพชาเป็นสามเณรโดยหลวงตาเพชรได้พาไปบรรพชาที่วัดกวิศราราม ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2458 (อายุ 19 ปี) (มหานิกาย) มีพระอาจารย์มีเป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นจึงได้ขอลาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำตะโก ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดถ้ำตะโก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2459 มีพระอาจารย์กิ่งสุวรรณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อุ่นเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ปานเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามว่า พระภิกษุเขียว มหันตปัญโญ หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษาที่วัดถ้ำตะโก 1 พรรษา พระอาจารย์กิ่งสุวรรณได้ชักชวนไปจำพรรษาที่วัดธรรมสังเวช จ.ลพบุรี 3 พรรษา จากนั้นได้ถือโอกาศลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกไปแสวงหาความรู้โดยเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง ขณะอยู่ในกรุงเทพฯได้พักอยู่กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และได้ญัตติเป็นธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดบรมนิวาส ซึ่งมีพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยธรพรหมมาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์ไม่มี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2461 เปลี่ยนนามฉายาว่า “มหานาโม“ หลังจากญัตติเป็นธรรมยุตแล้วได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริญัติธรรมอยู่ที่วัดบรมฯ 3 พรรษา จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง ปี พ.ศ. 2463 และได้ขอลาพระอุปัชฌาย์ไปอยู่กับท่านพระครูศรีจันทร์คุณที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ได้ศึกษาปริญัติธรรมและบาลี จนสอบได้นักธรรมชั้นโทในสนามหลวง และระหว่างที่อยู่เมืองหลวงนั้นหลวงปู่เขียวก็ได้สนทนาธรรมกับเกจิอาจารย์หลายรูป เช่น พระมหาวีรวงศ์ (ดิสโส อ้วน) , หลวงปู่แหวน สุจินโณ , หลวงปู่ตื้อ อาจลธัมโม ซึ่งเป็นสหธรรมมิก สมเด็จสังฆราช (จวน) และช่วงท่านยังหนุ่มแน่นท่านจะเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอ
.....สมณศักดิ์.....
- พระใบฎีกาเขียว มหานาโม 10 มีนาคม 2464
- พระวินัยธรเขียว มหานาโม เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2473
- พระครูธรรมประเวที เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2477
- พระมุนีวรานุวัตร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2501
- พระมุนีวรญาณเถร เมื่อวันที่ 5 ธันาคม 2515
24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 หลวงปู่ได้มรณภาพจากศิษย์ยานุศิษย์ไปอย่างอาลัย รวม 66 พรรษา อายุ 86 ปี 6 เดื
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
846 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
new
ชื่อร้าน
นิวพระเครื่องบัวใหญ่
URL
http://www.pranew.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0807994609
ID LINE
new0807994609
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี